Category Archives: ประเพณีไทย

เจ้าชายญี่ปุ่นทรงร่วมงานประเพณีไทยลอยกระทง

วันนี้ (28 พ.ย.) บริเวณพูล บาร์ ชั้น จี โรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ เจ้าชายอากิชิโน แห่งประเทศญี่ปุ่น พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต และสมเด็จพระราชินีมิชิโกะ ซึ่งอยู่ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 27-28 พ.ย. เพื่อทรงรับการถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงเข้าร่วมประชุมโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ในโครงการวิจัยพหุสัมพันธ์คนกับไก่ในประเทศไทย ได้เสด็จลง ณ พูล บาร์ เพื่อทรงร่วมงานประเพณีไทย ลอยกระทง เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งทางสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และโรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ ร่วมกันจัดถวาย ก่อนเสด็จกลับประเทศญี่ปุ่นในค่ำคืนเดียวกัน
Continue reading

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

ช่วงเวลา
ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเพราะว่าอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากเทือกเถาเหล่ากอจนถึงปัจจุบัน จุดประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนหย่อนใจและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเพราะต้องตรากตรำในการทำนา ประจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของชลบุรี แพร่หลายเป็นที่รู้จักมักคุ้นของชาวไทยและต่างประเทศ
Continue reading

การเลี้ยงผีปู่ตา ชาวบ้านนางช้างเฒ่า ตำบลน้ำคำ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

ความสำคัญ
ประชาชนนางช้างเฒ่า และบ้านอื่นๆๆในท้องถิ่นภาคอีสานเชื่อกันว่า ผีปู่ตาเป็นผีของคนสมัยก่อนหรือวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ยังมีความรักความผูกพันเป็นห่วงลูกหลานอยู่ จึงยังอยู่คอยเฝ้าดูแล รักษาปกป้องป้องกันภัยร้ายทั้งมวลที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกหลานในชุมชนของตนเอง หมู่บ้านแต่ละแห่งจึงสร้างศาลพระภูมิหรือศาลปู่ตาไว้ที่ป่าหัวบ้าน หรือท้ายบ้านไว้สำหรับให้ผีปู่ตาอาศัย โดยเมื่อครบกำหนด 1 ปี ชาวบ้านหรือชุมชนจะจัดพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตา 1-2 ครั้ง เป็นการทดแทนผีปู่ตาที่คอยปกป้องคุ้มครองตลอดมา
Continue reading

งานประเพณีรับบัว

“ประเพณีรับบัว” บังเกิดเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันของชาวไทยในท้องถิ่นกับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ครั้นถึงระยะเวลาออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงได้พร้อมใจเก็บดอกบัวเพื่อให้คนมอญนำกลับไปถวายภิกษุที่วัดนับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอำเภอพระประแดงและอำเภอเมืองต่างร่วมกันกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลีและนับว่าเป็นฤกษ์อันดีที่ได้นมัสการหลวงพ่อโตต่างพากันร้องรำทำเพลงบนเรือเพื่อสร้างความรื่นเริง ซึ่งชาวบางพลีก็จะเตรียมการต้อนรับเป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัว ซึ่ง เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี
Continue reading

วรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือวรรณคดีในช่วงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีในสมัยนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีต่างประเทศจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ วรรณคดีพุทธศาสนา วรรณคดีคำสอนหรือตำรา วรรณคดีนิทาน และวรรณคดีพงศาวดารต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นวรรณคดีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา บางส่วนเป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลเพิ่มขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือวัฒนธรรมจีนและมอญ บทความนี้ยกตัวอย่างวรรณคดีบางเรื่องที่มีความสำคัญและส่งอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน
Continue reading

ความหมายจิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย หมายถึง รูปภาพที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่ผิดแผก จากศิลปะของชาติอื่นอย่างเด่นชัด ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ลดทอน หรือเพิ่มจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองได้อย่างเรียบร้อย เหมาะสม น่าภาคภูมิใจ และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านแบบอย่าง และวิธีการมาตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในภายหน้า

ลายไทย เป็นองค์ประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร วัตถุ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้นหรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูป ยักษ์ เป็นต้น
Continue reading

การละเล่นพื้นบ้านภาคอีสาน

การละเล่นพื้นบ้านภาคอีสาน

เมื่อพูดการละเล่นซึ่งถือเป็นประเพณีไทยอย่างหนึ่งมักนึกถึงเด็กก็ย่อมต้องคู่กับของเล่นเด็ก…คนโบราณจะนิยมนำสิ่งรอบตัวไม่ว่าจะเป็น ใบมะพร้าว ก้านมะพร้าว กะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นต่างๆ มากมาย ซึ่งหลายคนอาจพอคุ้นหูกันอยู่บ้างกับของเล่นที่ชื่อ ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย เป็นต้น สำหรับอีสานบ้านเราก็มีภูมิปัญญาทางด้านการละเล่นประจำภาคที่น่าหลงใหลมาบอกเล่าให้ฟังด้วยเหมือนกัน…
Continue reading

ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่
1. วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้ายหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว

2. วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
Continue reading

งานเทศกาลและประเพณีจังหวัดชลบุรี

งานประจำจังหวัดชลบุรี

เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 กิจกรรมของงานได้รวมงาน “นมัสการพระพุทธสิหิงค์ งานสงกรานต์ และงาน กาชาด” ไว้ด้วยกันโดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันจัดงานกิจกรรมของงานประกอบไปด้วยขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม นิทรรศการ และ การออกร้าน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริม และ รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ตลอดจนปลูกฝังคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมไว้สืบไป
Continue reading

ความหมายของการละเล่นของไทย

การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีเรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นเครื่องใช้ วัสดุเครื่องใช้ในหนแรกแล้วจึงวิวัฒน์มาเป็นลำดับ เด็ก ๆ แลเห็นใหญ่ทำก็เอาอย่างนำดินมาปั้นเล่นบาง ในแผ่นจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็กล่าวคือถึงคนในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่กล่าวไว้ว่า
“ ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน “ แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง

ในสมัยอยุธยาได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องนางโนห์รา ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ดังบทที่ว่า
Continue reading